เครื่องผลักยาและวิตามินเข้าสู่ผิว โดยไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา
การรักษาโดยวิธี mesotherapy นั้น เป็นการรักษารูปแบบหนึ่งในการฉีดสารที่มีส่วนผสมต่าง ๆ เช่น สารอาหาร กลุ่มวิตามิน โคเอนไซม์ กรดอะมิโน เข้าสู่ผิวชั้นในคือชั้น Mesoderm ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ชั้นหนังแท้ หรือ Dermis ซึ่งชั้นนี้จะประกอบไปด้วย ไขมัน (fat) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissues) จุดมุ่งหมายในการรักษา โดย Mesotherapy ได้ถูกคิดค้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1952 โดย Dr. Michel Pistor ซึ่งเป็นแพทย์ชาวฝรั่งเศส ในช่วงแรก ๆ ได้มีการนำเทคนิคนี้มาใช้กับการรักษาความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ข้ออักเสบ ความผิดปรกติของประสาทข้อมือ ช่วยเรื่องอาการเครียด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะไมเกรน การคลายกล้ามเนื้อ ต่อมาในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1987 ได้มีการใช้เทคนิคนี้แพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มแพทย์ทางยุโรปและอเมริกา โดยนำมาฉีดเพื่อการรักษาด้านต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในแวดวงความงาม ที่รู้จักกันอย่างดีคือ การฉีดสาร Botox เพื่อลดริ้วรอยเหี่ยวย่นจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาแบบ Mesotherapy แบบหนึ่งที่ FDA ของอเมริกาได้รับรอง ซึ่งการฉีดสารนั้นสามารถทำได้โดยการฉีดด้วยมือ หรือใช้เครื่องฉีด
Mesoporation นั้นมีรูปแบบหรือกระบวนการ 4 อย่าง คือ
1. Electroporation
เป็นเทคโนโลยีของการนำส่ง โดยการใช้กระแสไฟฟ้าเฉพาะที่ทำให้เกิดช่องว่างชั่วคราวในชั้นของ Stratum Corneum และ Cell Membrane เพื่อนำพาวิตามินให้สามารถลงสู่ผิวได้ง่ายขึ้น อีกทั้งมีการเพิ่มความถี่ของคลื่นไฟฟ้าที่ต่างกัน ปราศจากอันตรายต่อเซลล์ผิวตั้งแต่ 15-20 วินาทีจนถึง 2-3 นาที จะส่งผลให้สามารถเปิดช่องทางผ่านผิว (mesopore) ขนาด 40-250 micron ได้ชั่วคราว โดยวิตามินสามารถส่งผ่านไปภายในเซลล์ และระหว่างเซลล์ สามารถใช้ทดแทนเข็มฉีดยาได้ และมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัยสูง
2. Electrorepulsion
เป็นกระบวนการผลักยาโดยยาที่มีประจุบวกนั้นสามารถใช้อิเล็กโทรด (electrode) ประจุบวกผลักดันตัวยาให้เข้าสู่ผิวหนัง ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการทำ mesotherapy จะเป็นประจุบวก ส่วนถ้าเป็นประจุลบจะใช้อิเล็กโทรดประจุลบแทน
3. Mechanical pressure
การใช้เครื่องหรืออุปกรณ์ช่วยในการกดนวดบริเวณผิวหนังโดยแพทย์หรือผู้ทำการ รักษาจะช่วยให้ตัวยาเข้าสู่เนื้อเยื่อผิวหนังมากขึ้น
4. pH gradient
จากการที่ผิวหนังนั้นมีการรักษาสภาพความเป็นกรดด่างให้มีค่าคงที่ ส่งผลให้ผิวหนังนั้นมีประจุเป็นบวก ซึ่งสำหรับยาที่มีประจุลบแล้วจะไม่เป็นปัญหาในการผลักยาเข้าสู่เนื้อเยื่อ ผิวหนัง
เมื่อรวมกระบวนการทั้งหมดคือ Electroporation Electrore pulsion Mechanical pressure และ pH gradient แล้วจะสามารถนำยาเข้าสู่เนื้อเยื่อผิวหนังได้มากขึ้น
Mesoporation ให้ผลอย่างไร
- ปราศจากความเจ็บปวด หรืออาการบวมแดงหลังทำ
- สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปรกติ
- สามารถกระตุ้นผิวหนังได้ลึกกว่าวิธีเก่า ๆ โดย mesoporation สามารถลงลึกได้ตั้งแต่ 1-10 mm
- ยาที่มีโมเลกุลใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้
- มีประสิทธิภาพในการนำยาลงสู่ผิวหนังได้ดีกว่าการทำ Ion- tophoresis หรือ Phonophoresis
|
|